หน้าหลัก
ตุลาคม 28, 2022 72 4

เดิมมีการศึกษาความชุกและลักษณะทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (post-traumatic stress disorder: PTSD) ในประชากรไทยทั่วไป การศึกษาเรื่อง "ลักษณะการเผชิญเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญและภาวะซึมเศร้าในผู้ประสบภัยพิบัติ : การวิเคราะห์ระบบเฝ้าระวังสุขภาพจิตในภาวะวิกฤต" ศึกษาจากข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังสุขภาพจิตในภาวะวิกฤต (crisis mental health surveillance system; CMS) ระหว่างปี พ.ศ. 2560 - 2563 ในประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้พื้นที่เกิดเหตุการณ์วิกฤต อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,489 คน พบว่า ร้อยละ 80.1 ประสบภัยพิบัติจากการกระทำของมนุษย์ ร้อยละ 13.3 ประสบภัยธรรมชาติ ความชุกของภาวะเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญและภาวะซึมเศร้าเท่ากับร้อยละ 2.4 และ 3.8 ตามลำดับ โดยความใกล้ชิดกับเหตุการณ์ ความรุนแรงของผลกระทบทางร่างกาย และปัญหาทางร่างกายและจิตใจที่มีอยู่เดิม เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของภาวะเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญและภาวะซึมเศร้า โดยผลการศึกษานี้สามารถเป็นข้อมูลเพื่อคัดแยกผู้ที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตหลังประสบเหตุการณ์วิกฤต เพื่อให้ความช่วยเหลือทางจิตใจที่เหมาะสมและทันเวลา


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ข้อกำหนดและเงื่อนไข